วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"กินอย่างไรให้ปลอดภัย"

"กินอย่างไรให้ปลอดภัย"


ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมในยุคโลกภิวัฒน์ ทำให้วิถีชีวิต ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ จึงทำให้วิถีการกินเปลี่ยนไป เป็นพฤติกรรมในการบริโภคที่ไม่ถูกต้องนำไปสู่โรคต่างๆเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงและโรคมะเร็ง ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุ การเจ็บป่วยและเสียชีวิตซึ่งมีสาเหตุเกิดมาจากการกินทั้งสิ้นและเป็นที่น่ายินดีที่เดี๋ยวนี้คนได้หันมาสนใจเรื่องนี้เป็นอันมากและทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ รณรงค์ให้ความรู้ทางด้านอาหารและโภชนาการผ่านสื่อและโครงการต่างๆเป็นอันมาก เช่น โครงการผ่านสื่อและโครงการต่างๆเป็นอันมาก เช่น โครงการอาหารปลอดภัย โครงการตลาดน่าซื้อ อ่านฉลากก่อนซื้อ โดยเฉพาะผักและผลไม้จากโครงการหลวงที่เป็นอาหารที่ปลอดภัยทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่มีสารพิษ และได้คุณค่าทางอาหาร
"เราจะรู้อย่างไรว่าอาหารปลอดภัย"
ในบ้านเราเกษตรกรยังผลิตผักและผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างเกินค่า ความปลอดภัย แต่ก็ยังมีเกษตรกรกลุ่มผลิตผักและผลไม้ปลอดภัยสารพิษ และในบางรายได้รับการรับรองแล้วจากกรมวิชาการเกษตรหรือกรมส่งเสริมการเกษตร การที่จะได้ตรารับรองจะต้องผ่านการทดสอบอย่างจริงจังเพื่อความแน่นอนสำหรับเพื่อผู้บริโภค

ตรารับรอง หมายความว่าอะไร
ตัวอย่าง เช่น "ผักและผลไม้อนามัย กรมวิชาการเกษตร" ซึ่งริเริ่มจากกรมวิชาการเกษตรปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 325 ราย ที่ได้รับตรารับรองเจ้าหน้าที่ของโครงการนำร่องการผลิตผักผลไม้สดอนามัย กรมวิชาการเกษตรได้มีการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างเพื่อรับประกันค่อนได้รับตรารับรองทุกปี
การรับรองจากหน่วยงานอื่นๆได้แก่กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิโครงการหลวง ผลผลิตที่ได้รับตรารับรองไม่ได้หมายความว่าไม่มีสารพิษ ตกค้างเลยแต่มีสารพิษตกค้างซึ่งต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่หากต้องการผลผลิตที่ไม่มีสารพิษตกค้างเลยควรหาซื้อจากเกษตรกรที่ผลิตโดยใช้ "เกษตรอินทรีย์"
เมื่อไหร่อาหารทุกอย่างจะปลอดภัย? รัฐบาลพยายามมากวิถีทางเพื่อปรับปรุงอาหารให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ มาตรการที่รับดำเนินการแล้วคือการห้ามนำสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงเข้าประเทศโดยใช้อำนาจของกฎหมายการตรวจจับสารเคมีที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ยังมีสารเคมีต่างๆเหล่านี้เล็ดรอดมาจำหน่ายในท้องตลาดได้บ้าง
เพื่อให้เกษตรกรได้ทราบถึงวิธีการผลิตที่ถูกต้อง ภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ โดยให้เกษตรกรรู้จักวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยวิธีผสมผสาน (IPM) ทำเกษตรที่ดีที่เหมาะสม ทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรยั่งยืนห้องปฏิบัติการตั้งกระจายอยู่ในแหล่งผลิตของเกษตรกรทั่วทุกภาค เพื่อทำการตรวจรับรองสารพิษตกค้างและรับรองสวนเกษตรกรซึ่งมีคุณภาพการผลิตได้มาตรฐานสากล
การทำซึ่งต้องอาศัยศักยภาพที่หลากหลายขององค์กรต่างๆเช่น องค์การพัฒนาเอกชนและธุรกิจเอกชน ก็มีส่วนในการส่งเสริมสินค้าเกษตรกรที่มีคุณภาพ ดังกล่าวนี้ ห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาเก็ตหลายแห่งในปัจจุบันได้จำหน่ายสินค้าปลอดภัยสารพิษที่มีตรารับรองเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภค
ความพยายามเพิ่มสินค้าปลอดภัยสารพิษให้สมบูรณ์ คงไม่สามารถทำสำเร็จภายในเร็ววันเพื่อให้ความสำเร็จตามเป้าหมายรวดเร็วขึ้น ผู้บริโภคต้องมีส่วนร่วมอย่างมากในการช่วยสนับสนุนโดยการเลือกหาสินค้าที่ปลอดภัยสารพิษและมีตรารับรองหรือเลือกซื้อสินค้าที่เกษตรกรปลูกแบบเกษตรอินทรีย์



กินอย่างไร ห่างไกลสารพิษ
สารเร่งเนื้อแดงแหล่งอาหารที่พบ -เนื้อหมู
การสังเกต-เนื้อหมูสีแดงผิดปกติ
อันตราย - หัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะเป็นลม อาจเสียชีวิตได้และมีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งจากสารเคมีที่สะสมในร่างกาย
การเลือก เลือกเนื้อหมูที่มีสีธรรมชาติ ไม่มีสีแดงผิดปกติ เลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรองคุณภาพ
สารฟอกขาวแหล่งอาหารที่พบ ขิงซอย ถั่วงอก น้ำตาลปี๊บ หน่อไม้ ขมิ้นขาว
การสังเกต อาหารที่มีสีซีดขาวผิดปกติ
อันตราย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ความดันต่ำ ไตวาย อาจเสียชีวิตได้
การเลือก เลือกซื้ออาหารที่มีสีธรรมชาติ เลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้รับป้ายรับรองคุณภาพ
สารกันราแหล่งอาหารที่พบ ผักและผลไม้ดอง
การสังเกต ผักดอง ผลไม้ดองน้ำที่ดองดูใสกว่าปกติ
อันตราย ทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นผื่นคัน อาเจียน หูอื้อ
การเลือก เลือกอาหารที่สดใหม่จากแหล่งผลิตที่มีป้ายรับรอง
สีผสมอาหาร
แหล่งอาหารที่พบ ผักดอง แหนม ข้าวเกรียบ ลูกชิ้นไส้กรอก หมูยอ ทอดมัน กุนเชียง ไอศกรีม ขนมหวาน เยลลี่
การสังเกต อาหรที่มีสีผิดปกติจากธรรมชาติ
อันตราย อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเดิน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ตับและไตอักเสบ มะเร็ง จากสารเคมีสะสมในร่างกายและพิษจากโลหะหนัก
การเลือก เลือกซื้ออาหารที่มีสีธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารสีจัด กว่าปกติ
ฟอร์มาลิน
แหล่งอาหารที่พบ ผักสด อาหารทะเล
การสังเกต ผักมีลักษณะแข็งกรอบผิดปกติปลาหรือกุ้งเนื้อแข็งแต่บางส่วนเปื่อยยุ่ย
อันตราย เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และเยื่อบุทางเดินหายใจ คลื่นไส้ อาเจียนปวดท้องอย่างรุนแรง อาจหมดสติได้
การเลือก เลือกผักที่ไม่มีลักษณะแข็งกรอบจนเกินไป เลือกผักที่มีรูพรุน ผักอนามัยหรือ ผักกางมุ้ง เลือกอาหารทะเลสดเนื้อไม่เปื่อยยุ่ง สีไม่ผิดปกติ อาหารทะเลต้องวางจำหน่ายในน้ำแข็งตลอดเวลา ล้างอาหารให้สะอาดาก่อนปรุง
ยาฆ่าแมลง
แหล่งอาหารที่พบ ผักสด ผลไม้ ปลาแก้ง
การสังเกต ผักและผลไม้ดูสมบูรณ์ไม่มีรอยกัดแทะของแมลงปลาแห้งที่ไม่มีแมลงวันตอม
อันตราย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อาจมีพิษาเฉียบพลัน กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก หมดสติ หายใจขัดและอาจหยุดหายใจได้ในระยะยาวอาจสะสมในร่างกายเป็นมะเร็งได้
การเลือกซื้อ เลือกบริโภคผักและผลไม้ตามฤดูกาลหรือผักพื้นบ้านเลือกผักที่มีรูจากการเจาะของแมลงเลือกซื้อจากแหล่งที่ได้ป้ายรับรองแล้ว
บอแรกซ์
แหล่งอาหารที่พบ ผักกาดดอง ลูกชิ้น หมูยอ มะม่วงดอง กล้วยทอด มันทอด ผักสด บางชนิด
การสังเกต อาหารที่มีลักษณะกรุบกรอบผิดปกติอันตราย อาเจียน น้ำหนักลด ผิวหนังมีผื่นคัน อาจอาเจียนเป็นเลือด ปวดท้อง กรวยไตอักเสบ เสียชีวิตได้
การเลือก หลีกเลี่ยงอาหารที่สงสัยว่ามีบอแรกซ์เลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่มีป้ายรับรองคุณภาพ

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก