วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

แนวทางปฏิบัติขั้นพื้นฐานตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

ความสำคัญของสุขบัญญัติแห่งชาติ

การมี "สุขภาพดี" เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (Mervyn Susser, ๑๙๙๓) และเป็นจุดมุ่งหมายทางสังคมที่ยอมรับกันทั่วโลก มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทาง เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะเศรษฐกิจและสังคม หรือความเชื่อถือทางการเมือง ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง ให้มี "สุขภาพดี" อันหมายถึง การมีสภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งมิใช่เพียงแต่ปราศจากโรคหรือไม่มีความพิการเท่านั้น แต่หมายถึง การมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างดีด้วย (สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน, ๒๕๒๗)


ปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมส่วนบุคค ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติโดยส่วนรวม ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทยังขาดความรู้ในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและการส่งเสริมสุขภาพ การแก้ปัญหาเหล่านี้ได้โดยการขยายบริการของรัฐออกไปให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจกระทำได้แต่ต้องใช้ทรัพยากร
ในการดำเนินงานค่อนข้างสูง ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหากลวิธีอย่างอื่นที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหานี้ คือ การปลูกฝังความรู้เรื่องสุขบัญญัติแห่งชาติให้แก่ประชาชน ตั้งแต่อยู่ในวัยเรียน เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ นับว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสมประการหนึ่ง ซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณน้อยและได้ผลในระยะยาว


แนวทางปฏิบัติขั้นพื้นฐานตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

๑. ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด

(๑) อาบน้ำให้สะอาดทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

(๒) สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

(๓) ตัดเล็บมือ เล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ

(๔) ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาทุกวัน

(๕) ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้อบอุ่นเพียงพอ

(๖) จัดเก็บของใช้ให้เป็นระเบียบ

๒. รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง

(๑) ถูฟันหรือบ้วนปากหลังกินอาหาร

(๒) หลีกเลี่ยงการกินลูกอม ลูกกวาด ทอฟฟี่ เป็นต้น

(๓) ตรวจสุขภาพในช่องปากอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

(๔) แปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนนอน

(๕) ห้ามใช้ฟันกัด ขบเคี้ยวของแข็ง

๓. ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย

(๑) ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่ายทุกครั้ง

๔. กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด

(๑) เลือกซื้ออาหารที่สด สะอาด ปราศจากสารอันตราย

(๒) กินอาหารที่มีการเตรียม การประกอบอาหาร และใส่ในภาชนะที่สะอาด

(๓) กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ

(๔) ไม่กินอาหารที่ใส่สี มีสารอันตราย เช่น สีย้อมผ้า ยากันบูด ผงชูรส

บอแรกซ์ ยาฆ่าแมลง ฟอร์มาลีน เป็นต้น

(๕) กินอาหารให้เป็นเวลา

(๖) กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ

(๗) ดื่มน้ำที่สะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เช่น น้ำประปา น้ำต้ม น้ำฝน

น้ำที่ผ่านการกลั่นกรอง น้ำกลั่น น้ำที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างถูกวิธี เป็นต้น

(๘) หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด และของหมักดอง

(๙) หลีกเลี่ยงของกินเล่น

๕. งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ

(๑) งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน

(๒) สร้างเสริมค่านิยม รักเดียวใจเดียว รักนวลสงวนตัว ไม่ชิงสุกก่อนห่าม

(มีคู่ครองเมื่อถึงเวลาอันควร)

๖. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
(๑) สมาชิกในครอบครัวช่วยเหลือกันทำงานบ้าน

(๒) มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในครอบครัว

(๓) มีการปรึกษาหารือกับสมาชิกในครอบครัวเมื่อมีปัญหา

(๔) เผื่อแผ่น้ำใจไมตรีให้กับสมาชิกในครอบครัว

(๕) มีกิจกรรมรื่นเริงสังสรรค์และพักผ่อนภายในครอบครัว

๗. ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท

(๑) ระมัดระวังในการป้องกันอุบัติภัยภายในบ้าน เช่น ไฟฟ้า เตาแก๊ส ของมีคม

จุดธูปเทียนบูชาพระ ไม้ขีดไฟ เป็นต้น

(๒) ระมัดระวังในการป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น ปฏิบัติตาม

กฎแห่งความปลอดภัยจากการจราจรทางบก ทางน้ำ ป้องกันอันตรายจากโรงฝึกงาน

ห้องปฏิบัติการ เขตก่อสร้าง หลีกเลี่ยงการชุมนุมห้อมล้อมในขณะเกิดอุบัติภัย

๘. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี

(๑) ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

(๒) ออกกำลังกายและเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัย

(๓) เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายอย่างสนุกสนาน

(๔) ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

๙. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ

(๑) พักผ่อนให้เพียงพอ

(๒) เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ ควรหาทางผ่อนคลายโดยการปรึกษาผู้ใกล้ชิด ที่ไว้ใจได้

หรือเข้าหาสิ่งบันเทิงใจ เช่น เล่นกีฬา ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ เป็นต้น

(๓) ทำงานอดิเรกในยามว่าง

(๔) ช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา

๑๐. มีสำนึกต่อส่วนร่วม ร่วมสร้างสรรค์สังคม

(๑) ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

(๒) อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น ชุมชน ป่า น้ำ สัตว์ป่า เป็นต้น

(๓) ทิ้งขยะในที่รองรับ

(๔) หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น

พลาสติก สเปรย์ เป็นต้น

(๕) มีและใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

(๖) มีการกำจัดน้ำทิ้งในครัวเรือนและโรงเรียนที่ถูกต้อง

ที่มา http://xcold.kucomsci18.in.th/health

ป้ายกำกับ:

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ท่าการออกกำลังกาย

ท่าออกกำลังกาย
ท่าออกกำลังกาย เพื่อการออกกำลังกายที่ถูกวิธี เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ในการออกกำลังกาย



ท่าที่ 1 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนตัวตรง

2. เหยียบแขนทั้งสองไปข้างหน้า ขนานกับพื้น

3. กำมือ แบมือสลับกัน




ท่าที่ 2 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนในท่าต่อจากท่าที่ 1

2. บิดข้อมือทั้งสองข้างขึ้นลง




ท่าที่ 3 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนท่าต่อจากท่าที่ 2

2. กำมือแล้วชกลมไปข้างหน้า สลับซ้ายขวา




ท่าที่ 4 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนท่าต่อจากท่าที่ 3

2. กำมือแล้วชกลมขึ้นข้างบน สลับซ้ายขวา




ท่าที่ 5 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนต่อจากท่าที่ 4

2. กางแขนทั้งสองออกข้างลำตัว

3. หมุนแขนไปข้างหน้าพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง 50 ครั้ง แล้วหมุนไปข้างหลังอีก 50 ครั้ง




ท่าที่ 6 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนตัวตรง

2. ยกมือสองข้างขึ้นตบเหนือศีรษะ แล้วกลับมาอยู่ท่าเดิม



ท่าที่ 7 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนท่าต่อจากท่าที่ 6

2. เหวี่ยงแขนทั้สองไปด้านหลัง และเหวี่ยงขึ้นตั้งตรงแนบศีรษะ ค้างไว้ 5 วินาที



ท่าที่ 8 ทำ 15 ครั้ง

1. ยืนตัวตรง

2. ก้มศีรษะลง ให้คางจรดกับกลางกระดูกไหปลาร้า ค้างไว้ 5 วินาที

3. เงยหน้าไปด้านหลัง พยายามให้ปลายคางตรง ค้างไว้ 5 วินาที



ท่าที่ 9 ทำ 15 ครั้ง

1. ยืนตัวตรง

2. หันศีรษะไปทางซ้าย ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหันกลับมา

3. หันศีรษะไปทางขวา ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหันกลับมา



ท่าที่ 10 ทำ 15 ครั้ง

1. ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นตั้งตรง

2. โน้มตัวไปข้างหน้าให้ลำตัวขนานกับพื้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วกลับสู่ท่าเดิม

3. เอนตัวไปด้านหลังพอประมาณ แล้วกลับสู่ท่าเดิม ทำสลับกันไปมา



ท่าที่ 11 ทำ 15 ครั้ง

1. ยืนตรง

2. โน้มตัวไปข้างหน้า ให้ลำตัวขนานกับพื้น

3. บิดลำตัวไปทางขวา จนถึงข้างลำตัว แล้วค่อยๆ ยกลำตัวขึ้นกลับสู่ท่าเริ่มต้น

4. ทำสลับซ้าย-ขวา



ท่าที่ 12 ทำ 50 ชุด

1. ยืนตัวตรง

2. ยกแขนทั้สองข้าง ทำท่าคล้ายปีกไก่

3. เหวี่ยงข้อศอกทั้งสองข้างออกด้านหลังแล้วกลับท่าเดิม ทำ 3 ครั้ง พอครั้งที่ 4 ให้เหวี่ยงแขนออกไปด้านหลังจนสุด นับเป็น 1 ชุด




ท่าที่ 13 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนตัวตรง เขย่งปลายเท้า

2. เหยียดแขนตรงไปข้างหน้าขนานกับพื้น ย่อตัวลง

3. ค่อยๆ ยืนขึ้นในท่าเดิม เอาส้นเท้าลงแล้วกลับสู่ทาเดิม



ท่าที่ 14 ทำ 50 ครั้ง

1. ท่านี้ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น โต๊ะทำงาน หรือเก้าอี้ที่รับน้ำหนักได้และไม่เลื่อน ใช้ฝาผนังก้ได้ค่ะ

2. ทำท่าคล้ายวิดพื้น แต่เปลี่ยนจากพื้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทน



ท่าที่ 15 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนตรงในท่าเตรียม

2. เตะขาซ้าย พร้อมกับเหยียดแขนขวาออกมาด้านหน้า พยายามให้ปลายเท้าแตะกับปลายนิ้วมือ

3. ทำสลับกัน ซ้าย-ขวา



ท่าที่ 16 ทำ 50 ครั้ง

1. ยืนในท่าเตรียม

2. ก้าวเท้าซ้ายออก

3. ย่อตัวลง ขาด้านที่ก้าวออกไปพยายามให้ขนานกับพื้น ขาหลังตรง อย่างอเข่า และลำตัวตรง

4. ทำสลับกัยซ้าย-ขวา

ที่มา http://entertain.tidtam.com/data/12/0171-1.html#

ป้ายกำกับ:

สุดยอด ผักผลไม้เพื่อสุขภาพ

สุดยอด!!! ผักผลไม้เพื่อสุขภาพ


เพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีของคุณสาวๆ ขอแนะนำผักผลไม้ 7 ชนิด สำหรับคุณผู้หญิงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีสารที่เป็นประโยชน์แก่หญิงทุกวัย ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งงดงาม และยังช่วยชะลอความชราได้อีกด้วย ดังนี้


ลูกพรุน (Prunes) ลูกพรุน เป็นแหล่งที่ดีของโปแตสเซียม เหล็กและไฟเบอร์ ที่สำคัญพรุนช่วยทำให้ผิวพรรณมีเลือดฝาด พรุนเป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดี พรุนแห้งหนึ่งขีดมีธาตุเหล็ก 2.78มิลลิกรัมและมีวิตามิน ซี ซึ่งช่วยในการดูดซึมธาตุต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นหากคุณผู้หญิงอยากมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ริมฝีปากแดงสดเหมือนสตรอเบอรี่ แก้มแดงใสเหมือนลูกเชอรี่โดยไม่ต้องใช้เครื่องสำอาง ดูเป็นคนที่มีสุขภาพดีสมบูรณ์ด้วยเลือดฝาด


ถั่ว ผู้หญิงทุกคนอยากมีหุ่นสวยเพรียว ไม่มีไขมันส่วนเกินสะสม “ถั่วช่วยคุณได้ค่ะ” ถั่วเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เหล็ก วิตามินบี นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบว่าเมื่อคุณรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ (ซึ่งถั่วมีอยู่แล้วมากมาย)ไฟเบอร์จะเคลือบผิวกระเพาะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและอิ่ม-นานความอยากอาหารจะลดลง ซึ่งแน่นอนว่ามีประโยชน์กับคุณสุภาพสตรีที่ต้องการลดความอ้วนเป็นอย่างมาก



แอปเปิ้ล มีสารสำคัญ คือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ที่ชื่อ “เพคติน” แต่ที่น่าสนใจสำคัญคุณผู้หญิงทั้งหลายคือ เจ้าตัว “เพคติน”นี้มีคุณสมบัติช่วยลดความอยากอาหาร ลดน้ำหนัก และลดโคเลสเตอรอล หากคุณหิวจนตาลาย แต่ยังไม่ถึงเวลาอาหารแอปเปิ้ลสักลูกจะช่วยลดความหิวได้ เพราะแอปเปิ้ลมีแป้ง และน้ำตาลในรูปของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวถึง 75 %ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมน้ำตาลพิเศษชนิดนี้ได้รวดเร็วและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในเวลาไม่เกิน 10 นาที



บรอคโคลี่
เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคุณสุภาพสตรีทั้งหลาย เพราะบรอค-โคลี่เป็นแหล่งซีลีเนียมตามธรรมชาติซึ่งเจ้าตัว ซีลีเนียมนี้ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ (ซีลี-เนียมจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง จึงทำให้ผิวดูอ่อนวัยนุ่มนิ่ม มีน้ำมีนวลเหมือนหนุ่มสาว) แถมยังช่วยลบริ้วรอยเหี่ยวย่นอีกด้วย




กล้วยไข่
กล้วยทุกชนิด ดีต่อสุขภาพแต่กล้วยไข่ดีเป็นพิเศษ ในเรื่องของสารต้านอนุมูลอิสระที่เรารู้จักกันดี คือ เบต้าแคโรทีน โดยธรรมชาติ เมื่อเราอายุพ้นยี่สิบสองไปแล้วความเจริญเติบโตของร่างกายจะเริ่มหยุดชะงัก ความเสื่อมในส่วนต่างๆ ของร่างกายก็จะเริ่มมาเยือนอย่างช้าๆ





ฝรั่ง
ฝรั่ง 1 ขีดมีวิตามินซีสูงถึง180 มิลลิกรัม วิตามินซีมีบทบาทในการสร้างคอลลาเจนที่ทำให้ผิวพรรณบนใบหน้าของคุณเต่งตึงไม่แก่ก่อนวัยวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเจ้าตัวสารต้านอนุมูลอิสระนี้เองที่ทำให้คอลลาเจนและอีลาสตินเสื่อมสภาพผิวหนังแห้งเหี่ยว เกิดริ้วรอยตีนกาวิตามินซี มีความสำคัญต่อการสร้าง และบำรุงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(ConnectiveTissue) เซลล์นับล้านๆ ตัวเกาะเกี่ยวกันเป็นร่างกายได้ด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า คอลลาเจนมันคือคอลลาเจนตัวเดียวกันกับคอลลาเจนที่ทำให้ผิวพรรณบนใบหน้าของคุณผู้หญิงทั้งหลายเต่งตึงนั่นเอง และเพราะฝรั่งอุดมไปด้วยวิตามินซีนั่นเอง คุณๆทั้งหลายที่อยากคงความเป็นหนุ่มเป็นสาวให้แก่ผิวสวยไว้นานๆน่าจะลองหันมารับประทานฝรั่งเป็นประจำ




ส้ม
แหล่งวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยธรรม-ชาติ การรับประทานส้มโดยไม่คายกากจะช่วยคุมน้ำหนักได้อีกวิธีหนึ่ง เพราะจะทำให้รู้สึกอิ่มท้องเร็ว เป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักได้อย่างดีทีเดียวค่ะ นอกจากนี้ หากรู้สึกหิวก่อนเวลา แทนที่จะนึกถึงเค้กก้อนโต หรือโดนัทชิ้นใหญ่ให้ลองหยิบส้มสักลูกเข้าปากแทนจะได้ประโยชน์มากกว่าในราคาที่ถูกกว่าด้วย


ผักและผลไม้ทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น สำหรับคุณๆ ผู้หญิงทุกท่านที่ต้องการรักษาสุขภาพ นอกจากผักผลไม้ทั้งเจ็ดนี้แล้วผักและผลไม้อื่นๆ ก็มีคุณประโยชน์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันสถาบันโภชนาการแห่งชาติอเมริกาจึงได้แนะนำขนาด-ในการรับประทานผักผลไม้ในแต่ละวันว่า ควรจะรับประทานรวมกันให้ได้วันละครึ่งกิโล หรือ 5 ขีดจะช่วยให้คุณๆทั้งหลายมีสุขภาพแข็งแรง แจ่มใส ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมารบกวน
ที่มา http://blog.eduzones.com/racchachoengsao/17739

ป้ายกำกับ:

ผลการประเมินบล็อก

-วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
1. เพื่อการดูแลรัษร่างกายอย่างถูกวิธี
2. เพื่อสร้างนิสัย กินเป็น อยู่เป็น
3. เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเลือกซื้ออาหารที่ไมสารพิษเจือปน
4. เพื่อความประหยัด ในการเลือกซื้ออาหารให้คุ้มกับประโยชน์ที่ได้
5. เพื่อป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคโดยเฉพาะโรคอ้วนซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนอีกมาก
6. เพื่อให้มีบุคลิคภาพที่ดี
7. เพื่อความเป็นมิตรไมตรีกับบุคคลอื่น
8. เพื่อให้มีสุขภาพจิตที่ดี
-เนื้อหาเป็นประโยชน์(5 คะแนน)
1.ในปัจจุบันผู้คนไม่ออกกำลังกายกันนักเพราะเชื่อว่าการออกกำลังกายนั้นต้องไปออกที่สนามหรือที่เฉพาะของการออกกำลังกายเท่านั้นแต่ท่าในการออกกำลังกายที่นำมาแนะนำนี้สามารถออกได้ทั้งในที่อาศัยที่ทำงานได้
2.ในการเลือกรับประทานอาหาร หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ก็ควรที่จะเลือกให้ดีไม่ตามใจปากจนเกินไป
-ความน่าสนใจ (4 คะแนน)เพราะการดุแลสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทุกคนอยากให้อยู่กับตนเองและคนที่รัก คำกล่าวที่ว่า
"สุขภาพดีไม่มีขาข อยากได้ต้องทำเอง" เป็นคำกล่าวที่เป็นจริงและสามารถพิสูจน์ได้เสมอ
-ความทันสมัย (4 คะแนน) เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า อาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกมื้อนั้นล้วนมีสิ่งปนเปื้อนเจือปนมาบ้างไม่ว่าจะเป็น ผัก เนื้อหรืออาหารที่เรารับประทาน ดังนั้นเราก็ควรเลือกให้เป็นว่าการดูอย่างไรจะได้สิ่งเจือปนน้อยที่สุดและไม่เป็นอันตรายแก่เรา
-การออกเเบบ/ความสวยงาม (4 คะแนน) การปรับปรุงรูปแบบผลงานที่มีอยู่แล้ว หรือสิ่งต่าง ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม ให้มีความแปลกความใหม่เพิ่มขึ้น ถ้อยคำ เส้น สี แสง รูปแบบ และวัสดุต่าง ๆอย่างเหมาะสม เพื่อความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
-ความเรียบง่าย (อ่านง่าย เข้าใจง่าย) (5 คะแนน) อ่านแล้วได้ ข้อคิดดีๆ และความรู้ใหม่ๆที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ มีรูปภาพประกอบเข้าใจง่าย แต่ก็ไม่รบกวนสายตาของผู้ใช้
สรุปคะแนน 22 คะแนน

ป้ายกำกับ:

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ

การออกแบบเว็บเพจ
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กระจายไปสู่ทั่วทุกมุมของโลก ซึ่งในแต่ละวันจะมีจำนวนเว็บไซต์เพิ่มขึ้นบนเครือข่ายเป็นจำนวนมาก เพราะใครๆ ก็สามารถสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้ แต่การทำให้เว็บไซต์ของตนเป็นที่นิยมและสะดุดตาของผู้ที่เข้าชมจึงเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ดังนั้นบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการสร้างเว็บไซต์เพื่อที่เผยแพร่สารสนเทศต่างๆ จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงแนวทางในการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ของตนเพื่อให้เป็นที่สะดุดตา และมีประโยชน์กับผู้ชมมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม การที่จะออกเว็บไซต์ให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์นั้นจากที่กล่าวมาแล้วในเรื่องของเว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ จะเห็นได้ว่าแต่ละเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยเว็บเพจตั้งแต่ 1 หน้าไปจนกระทั่งไม่มีขีดจำกัด และโฮมเพจก็คือเว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยในส่วนของการออกแบบเว็บเพจเป็นสำคัญ ซึ่งนักออกแบบและพัฒนาเว็บเพจหลายท่านได้ให้คำแนะนำไว้ ดังนี้
จิตเกษม พัฒนาศิริ (2539) ได้เสนอแนะถึงขั้นตอนการออกแบบเว็บเพจที่ดีว่า
1. ควรมีรายการสารบัญแสดงรายละเอียดของเว็บเพจนั้น
การเข้ามาในเว็บเพจนั้นเปรียบเสมือนการอ่านหนังสือ วารสารหรือตำราเล่มหนึ่ง การที่ผู้ใช้จะเข้าไปค้นหาข้อมูลได้ ผู้สร้างควรแสดงรายการทั้งหมดที่เว็บเพจนั้นมีอยู่ให้ผู้ใช้ทราบ โดยอาจจะทำอยู่ในรูปแบบของสารบัญ หรือการเชื่อมโยง การสร้างสารบัญนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลภายในเว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว
ทางที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ใช้หลงทางได้ดีที่สุดคือ ควรจัดสร้างแผนที่การเดินทางขั้นพื้นฐานที่ เว็บเพจนั้นก่อน ซึ่งได้แก่ การสร้างสารบัญให้กับผู้ใช้ได้เลือกที่จะเดินทางไปยังส่วนใดของเว็บเพจได้จากจุดเริ่มต้นหรือ
โฮมเพจ
2. เชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด
ถ้าข้อมูลที่นำมาแสดงเนื้อหามากเกินไป และเว็บเพจที่สร้างขึ้นไม่สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาแสดงได้ อันเนื่องมาจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม ถ้าทราบแหล่งข้อมูลอื่นว่าสามารถให้ความกระจ่างแก่ผู้ใช้ได้ ควรที่จะนำเอาแหล่งข้อมูลนั้นมาสร้างเป็นจุดเชื่อมโยงเพื่อที่ผู้ใช้จะได้ค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องและกว้างขวางยิ่งขึ้น
การสร้างจุดเชื่อมโยง นั้นสามารถจัดทำในรูปของตัวอักษรหรือรูปภาพก็ได้ แต่ควรที่จะแสดงจุดเชื่อมโยงให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และที่นิยมสร้างกันนั้น โดยส่วนใหญ่เมื่อมีเนื้อหาตอนใดเอ่ยถึงส่วนที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวเนื่องกันก็จะสร้างเป็นจุดเชื่อมโยงทันที นอกจากนี้ ในแต่ละเว็บเพจ ที่สร้างขึ้นมาควรมีจุดเชื่อมโยงกลับมายังหน้าแรกของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่ด้วย ทั้งนี้เผื่อว่าผู้ใช้เกิดหลงทางและไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี จะได้มีหนทางกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่
3. เนื้อหากระชับ สั้นและทันสมัย
เนื้อหาที่นำเสนอกับผู้ใช้ควรเป็นเรื่องที่กำลังมีความสำคัญ อยู่ในความสนใจของผู้คนหรือเป็นเรื่องที่ต้องการให้ผู้ใช้ทราบ และควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
4. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที
ควรกำหนดจุดที่ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำกับผู้สร้างได้ เช่น ใส่อีเมล ของผู้ทำ ลงในเว็บเพจ โดยตำแหน่งที่เขียนควรเป็นที่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุดของเว็บเพจนั้นๆ ไม่ควรเขียนแทรกไว้ที่ตำแหน่งใดๆ ของจอภาพ เพราะผู้ใช้อาจจะหาไม่พบก็ได้

5. การใส่ภาพประกอบ
การเลือกใช้รูปภาพที่จะทำหน้าที่แทนคำบรรยายนั้นเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำเอารูปภาพมาทำหน้าที่แทนคำบรรยายที่ต้องการ และควรใช้รูปภาพที่สามารถสื่อความหมายกับผู้ใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
การใช้รูปภาพเพื่อเป็นพื้นหลัง ไม่ควรเน้นสีสันที่ฉูดฉาดมากนัก เพราะอาจจะไปลดความเด่นชัดของเนื้อหา ควรใช้ภาพที่มีสีอ่อนๆ ไม่สว่างจนเกินไป ตัวอักษรที่นำมาแสดงบนจอภาพก็เช่นเดียวกัน ควรเลือกขนาดที่อ่านง่าย ไม่มีสีสันและลวดลายมากเกินความจำเป็น อีกประการหนึ่งคือ รูปภาพที่นำมาประกอบนั้น ไม่ควรมีขนาดใหญ่หรือมีจำนวนมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เนื้อหาสาระของเว็บเพจนั้นถูกลดความสำคัญลง

6. เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
การสร้างเว็บเพจนั้นสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เข้ามาชมและใช้บริการของเว็บเพจที่สร้างขึ้น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนย่อมทำให้ผู้สร้างสามารถกำหนดเนื้อหา และเรื่องราวเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากกว่า

7. ใช้งานง่าย
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการสร้างเว็บเพจคือ จะต้องใช้งานง่าย เนื่องจากอะไรก็ตามถ้ามีความง่ายในการใช้งานแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมสูงขึ้นตามลำดับ และการสร้างเว็บเพจ ให้ง่ายต่อการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับเทคนิคและประสบการณ์ของผู้สร้างแต่ละคน

8. เป็นมาตรฐานเดียวกัน
เว็บเพจที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น อาจจะมีจำนวนข้อมูลมากมายหลายหน้า การทำให้ผู้ใช้งานไม่เกิดความสับสนกับข้อมูลนั้น จำเป็นต้องกำหนดข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยอาจแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ไป หรือจัดเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เพื่อความเป็นระเบียบน่าใช้งาน



การนำเสนอด้วยเว็บ(Web Presentation)

เพื่อให้การนำเสนอด้วยเว็บเป็นไปอย่างน่าสนใจและดึงดูดผู้คนให้เข้ามาชม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบ
ถึงหลักการและวิธีการในการออกแบบและการนำเสนอ เพราะถ้าหากทำไปโดยปราศจากการออกแบบหรือ
การนำเสนอที่ดีแล้ว ผู้ชมอาจจะไม่สนใจและใส่ใจที่จะเข้ามาชม ทำให้การนำเสนอในครั้งนั้นสูญเปล่าได้
ดังนั้นผู้ที่จะออกแบบควรเรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเสนอก่อน

เนื่องจากเวิลด์ไวด์เว็บนั้น นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลที่หลากหลายเพื่อการค้นหาแล้ว หน่วยงานและ
องค์กรต่างๆ รวมถึงบุคคลยังสามารถใช้เว็บเพื่อเป็นสื่อในการนำเสนออีกทางหนึ่งด้วยและกระบวนการ
นำเสนอผ่านเว็บนั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากการนำเสนอผ่านสื่ออื่นๆ เช่น การนำเสนอด้วยสไลด์ การนำเสนอ
ด้วยรายการวิทยุโทรทัศน์ การนำเสนอผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม PowerPoint หรือการทำ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เท่าใดนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้การนำเสนอด้วยเว็บมีความน่าสนใจและแตกต่าง
จากสื่ออื่นก็คือ สิ่งที่ปรากฏบนเว็บนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูล

ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังเป็นสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำเว็บกับผู้ชมหรือระหว่างผู้ชม
กับผู้ชมด้วยกันเองได้ทันทีอีกด้วย โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า Common Gateway Interface (CGI)
ซึ่งได้กล่าวถึงรายละเอียดในเรื่องของเว็บเพจแล้ว

จะเห็นว่ากระบวนการสื่อสารนั้นเป็นการสื่อสารทั้งสองทางคือ จากผู้ทำเว็บไปยังผู้ชม
และจากผู้ชมกลับมายังผู้ทำเว็บ ทั้งยังสามารถติดต่อกับผู้ชมคนอื่นๆ ที่เข้ามาชมเว็บไซต์เดียวกัน
ซึ่งกระบวนการสื่อสารในรูปแบบนี้เอง ทำให้เว็บไซต์กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม หากกระบวนการดังกล่าวไม่มีระบบขั้นตอนในการนำเสนอแล้ว ก็อาจทำให้การสื่อสาร
ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ ดังนั้น ขั้นตอนในการทำเว็บไซต์ก็เป็นส่วนสำคัญประการหนึ่ง
ที่ทำให้เว็บไซต์น่าติดตาม

ขั้นตอนในการนำเสนอ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การนำเสนอด้วยเว็บเพจก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับการนำเสนอด้วยสื่อทั่วไป คือ
มีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อและขั้นตอนต่างๆ
ในการนำเสนอผ่านเว็บ (Lemay, 1996; Nielsen, 1999; กิดานันท์ มลิทอง, 2542;) ได้กล่าวไว้ มีดังนี้

1. การวางแผนและตั้งวัตถุประสงค์

การวางแผนในที่นี้รวมถึงการกำหนดจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายของการทำงานด้วยในการนำเสนอ
ต่างๆ หรือทำเว็บก็ตาม หากมีจุดหมายว่า จะทำเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร เมื่อมีจุดมุ่งหมายและ
กลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัดแล้ว จะทำให้มองเห็นเป้าหมายในการทำงานได้ชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น หากต้องการ
จะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องช้าง โดยมีจุดหมายเพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน
โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนที่สนใจเรื่องช้างและเรื่องธรรมชาติ และต้องการนำเสนอผ่านเว็บเมื่อทราบเช่นนี้
แล้ว ก็จะทำให้การทำงานในขั้นตอนต่อไปง่ายยิ่งขึ้น

2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล

เมื่อได้เรื่องราวที่จะนำเสนอ โดยมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายแน่ชัดแล้ว ก็ถึงขั้นตอนในการรวบรวม
แหล่งข้อมูล จากตัวอย่างเรื่องช้างในข้อที่ 1. ก็ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งที่เป็นเนื้อหา รูปภาพเสียง
ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว และสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวกับช้าง ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำเสนอ

3. ศึกษาและเรียงลำดับข้อมูล

หลังจากได้ข้อมูลเบื้องต้นมาแล้ว ควรที่จะศึกษาข้อมูลเหล่านั้นว่าส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกเป็น
หมวดเป็นหมู่ได้หรือไม่ เช่น เมื่อหาข้อมูลเรื่องช้างมาได้พอสมควร อาจจะแยกแยะเป็นหมวด ดังนี้ประวัติของ
ช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ วิวัฒนาการของช้าง ประเภทของช้าง ช้างไทยประโยชน์ของช้าง ฯลฯ เป็นต้น
เมื่อได้หัวข้อหลักแล้ว ส่วนประกอบย่อยต่างๆ ก็จะค้นหาได้ง่ายขึ้น

4. การออกแบบสาร

เมื่อได้เนื้อหาและหัวข้อในการนำเสนอแล้ว ลำดับต่อมาก็๋คือการออกแบบเนื้อหาให้น่าสนใจ ซึ่งตามหลัก
ของเทคโนโลยีการศึกษา เรียกว่า การออกแบบสาร (message design) การออกแบบสารนี้นอกจากด้าน
เนื้อหาแล้ว ยังรวมไปถึงองค์ประกอบต่างในการนำเสนอด้วย เช่น สีของตัวอักษร, ภาพประกอบ กราฟิก, เสียง
ฯลฯ เหล่านี้จะต้องสื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกันกับเนื้อหาด้วย นอกจากนี้ ควรจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน
เช่น สีของตัวอักษร สัญรูปหรือปุ่มต่างๆ ที่ใช้ในการเชื่อมโยง

5. การเขียนแผนผังของงาน

การทำแผนผังของงาน (flow chart) จะทำให้ลำดับเรื่องราวได้ง่ายขึ้นและเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งในการออกแบบเว็บนั้นนักออกแบบบางคนจะทำแผนผังของงานโดยใช้กระดาษ
สติกเกอร์ที่สามารถลอกออกได้แปะไว้บนบอร์ด ตามลำดับของเนื้อหาเพราะง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงหรือ
บางคนอาจจะใช้วิธีการเขียนบนไวท์บอร์ดด้วยปากกาที่ลบได้โดยง่าย

6. การเขียนบทภาพ (storyboard)

การเขียนบทภาพ (storyboard) ของงานลงในกระดาษก่อนลงมือทำ นอกจากจะทำให้ เรากำหนดองค์
ประกอบของงานได้อย่างคร่าวๆ แล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของงานชัดเจนยิ่งขึ้น และเมื่อลงมือทำงานจริงๆ
ก็จะทำได้ง่ายขึ้น

7. การจัดทำเว็บ

เมื่อผ่านขั้นตอนทุกอย่างจนมาถึงขั้นการจัดทำแล้ว การลงมือทำถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของกระบวนการ
เพื่อผลสำเร็จของงาน โดยทำตามแผนภาพของงานจะทำให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น

8. ทดสอบและประเมินผล

หลังจากทำเสร็จทุกขั้นตอนของการจัดทำแล้ว ควรจะมีการทดสอบและประเมินผลจากตัวผู้จัดทำก่อน
โดยสมมติว่าเป็นผู้ชมคนหนึ่ง โดยดูองค์ประกอบต่างๆ ที่ได้ทำขึ้นมา เช่นการเชื่อมโยงตรงตามที่กำหนดไว้
หรือไม่ สีที่ใช้ในการเชื่อมโยงเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน้าและใช้การได้หรือไม่ ภาพหรือกราฟิกตรงตาม
เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์หรือเปล่า ฯลฯ เป็นต้น

จากนั้น เมื่อได้ถ่ายโอนข้อมูลไปเก็บไว้ยังเครื่องบริการเว็บแล้ว ก็ควรแนะนำเพื่อนหรือคนอื่นๆ
ช่วยตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งถ้าถ่ายโอนข้อมูลไม่ครบ และทำการทดสอบด้วยเครื่องที่จัดทำก็จะไม่พบ
ข้อบกพร่อง เนื่องจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ถูกบรรจุอยู่ไว้ในเครื่องที่จัดทำอยู่แล้ว โปรแกรมก็จะนำแฟ้ม
ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องมาแสดงผล แต่ถ้าเป็นเครื่องอื่นหากเราถ่ายโอนข้อมูลไม่ครบ ก็จะพบข้อผิดพลาด

9. การประชาสัมพันธ์

หลังจากทำการทดสอบและประเมินผลจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็สามารถประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้อื่นได้รับรู้
โดยผ่านทางคนรู้จักหรือผ่านทางเว็บที่ให้บริการประชาสัมพันธ์เว็บใหม่

เนื้อหาที่นำเสนอผ่านเว็บ

เนื่องจากการนำเสนอเนื้อหาผ่านเว็บนั้น ไม่ได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่าควรนำเสนอในเรื่องใด ดังนั้นเนื้อหา
ต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บจึงมีแทบทุกประเภท เช่น การค้า การศึกษา การแพทย์ การทหาร เทคโนโลยี บันเทิง เกม กีฬา อาหาร หรือแม้กระทั่งเรื่องราวส่วนตัว ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเว็บที่มีเนื้อหาในแง่ลบอีกด้วย
ซึ่งในแต่ละวันจะมีเว็บไซต์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

ป้ายกำกับ:

การวิเคราะห์และประเมินผล งานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ

ความเจริญรุดหน้าทุกด้านของมนุษยชาติในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับ
อินเทอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมโลกให้เป็นหนึ่งเดียว และคอมพิวเตอร์ก็ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
ต่อทุกสังคมโลก ซึ่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายทั้งปวงทุกวันนี้สามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิก
เมาส์หรือกดแป้นคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ และการลงทุนด้านธุรกิจ การวิเคราะห์ทางการแพทย์ การวิจัย-
ทางทหาร การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ อีกทั้งงานด้านการเกษตรหรืออุตสาหกรรมล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

ถึงแม้การตอบรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในวงการศึกษาจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า อันเนื่องมาจากความ
หวาดหวั่นว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนครูผู้สอน อย่างไรก็ตาม นักเรียน นักศึกษาทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การทำรายงานหรือการค้นหาข้อมูลในบางครั้งนั้นไม่จำเป็นต้องไปที่
ห้องสมุดหรือเปิดตำราค้นคว้าอีกต่อไป เพราะสารสนเทศและข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้รวบรวมผลงานอัน
หลากหลายของนักวิชาการ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา นักคิด นักเขียน มารวมไว้เพื่อให้ทุกคนสามารถ
แบ่งปันกันใช้ ซึ่งการเข้าถึงข่าวสารเช่นนี้จะเป็นการแพร่กระจายการศึกษาและโอกาสส่วนตัว แม้แต่นักเรียน
ที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนดีๆหรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวก็มีโอกาสที่จะรับรู้ดังเช่นคนอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวจะไม่ทำให้นักเรียนต้องโดดเดี่ยวหรือขาดการสัมพันธ์กับคนอื่นๆ
เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวไว้ว่าประสบการณ์สำคัญที่สุดทางการศึกษาอย่างหนึ่งก็คือการทำงานร่วมมือ
กับผู้อื่นในห้องเรียนแบบสร้างสรรค์ที่สุดของโลกโดยมีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายการสื่อสารเป็นเครื่องมือ
ในการเปลี่ยนแปลงสัมพันธภาพธรรมดาระหว่างกลุ่ม นักเรียน หรือระหว่างนักเรียนกับครู อาจารย์ ด้วยวิธีการ
สร้างสรรค์แบบร่วมมือกัน ทำให้การเรียนรู้มิได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนหรือเพียงแต่อยู่ในความดูแลของ
ครูผู้สอนเท่านั้น และการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อพัฒนาการศึกษาจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
สังคมโดยส่วนรวม

การที่อินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ของโลกที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่อง
เข้าด้วยกัน นับตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กระทั่งกลายเป็น
เครือข่ายข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ ทำให้การติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น ห้องสมุด
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั่วโลก ข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รวมทั้งบทความและเรื่องราวต่างที่น่าสนใจ
ฯลฯ เป็นต้น


โครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ซึ่งพบว่าในแต่ละ
เว็บไซต์นั้นโดยรวมแล้วมีรูปแบบในการนำเสนอที่คล้ายคลึงกัน แต่อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่าง
ออกไปตามแต่วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์นั้นๆ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาโครงสร้างหรือองค์ประกอบของ
เว็บซึ่งประกอบไปด้วย คือ ลักษณะโครงสร้างของเว็บตัวนำทาง การสืบค้นสารสนเทศ การออกแบบเว็บเพจ การวางโครงร่างลักษณะงานกราฟิก และสัญรูป เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบหลักของการนำเสนอผ่านเว็บ
และนอกจากนี้ยังกล่าวว่า เนื้อหาของการนำเสนอบนเว็บนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และผลจากการศึกษา
ที่ต่อเนื่องกันยังพบสิ่งที่สนใจอีก 3 ประการคือ 1) ผู้ที่เข้าไปในเว็บนั้นจะไม่ใช้วิธีการอ่านเนื้อหาหรือ
สารสนเทศที่ปรากฏบนเว็บไซต์แต่จะเป็นการกวาดสายตาเพื่อหาสิ่งที่น่าสนใจ 2) ผู้ที่เข้าไปในเว็บ
ส่วนใหญ่ไม่ชอบที่จะใช้แถบเลื่อนด้านข้าง (scrolling) เพื่อการอ่าน ซึ่งผู้อ่านต้องการข้อความที่กระชับ
และได้ใจความมากกว่า 3) ผู้ที่เข้าไปในเว็บต้องการให้สิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นข้อเท็จจริงมากกว่าอื่นใด

จากผลการศึกษา จะเห็นว่าทั้งการออกแบบและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต
หรือเวิลด์ไวด์เว็บนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้อย่างง่ายๆ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนมากมาย
ที่มา http://www.kradandum.com


การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน

- ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
- การทดสอบสื่อ
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value judgment) เพื่อที่จะรู้ว่า สื่อนั้นทำหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการ หรือไม่ประการใด
การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ

การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
1. ลักษณะสื่อ
1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)
1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)
1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)

ผู้ตรวจสอบลักษณะสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ นักโสตทัศนศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา
2. เนื้อหาสาระ
เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจน

ผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระเฉพาะ และครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คน
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)
เครื่องมือ
ในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมา
มี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบ การพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้
กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ
พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.2 โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยปกติควรจะสร้างข้อสอบสำหรับวัดแต่ละวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อยที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อสอบที่ต้องการเพื่อการคัดเลือกข้อที่เหมาะสมหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบ
พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง
นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่าย
คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ
2. แบบสังเกต สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ
ความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)
การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของ
เสียงดี ฟังง่าย ฯลฯ
การเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticable)
ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม
วิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อน
ผู้เรียนสนใจ และติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอด
ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ผู้เรียน หรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ
http://mediatalkblog.wordpress.com/

ป้ายกำกับ: