วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"กินอย่างไรให้ปลอดภัย"

"กินอย่างไรให้ปลอดภัย"


ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมในยุคโลกภิวัฒน์ ทำให้วิถีชีวิต ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ จึงทำให้วิถีการกินเปลี่ยนไป เป็นพฤติกรรมในการบริโภคที่ไม่ถูกต้องนำไปสู่โรคต่างๆเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงและโรคมะเร็ง ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุ การเจ็บป่วยและเสียชีวิตซึ่งมีสาเหตุเกิดมาจากการกินทั้งสิ้นและเป็นที่น่ายินดีที่เดี๋ยวนี้คนได้หันมาสนใจเรื่องนี้เป็นอันมากและทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ รณรงค์ให้ความรู้ทางด้านอาหารและโภชนาการผ่านสื่อและโครงการต่างๆเป็นอันมาก เช่น โครงการผ่านสื่อและโครงการต่างๆเป็นอันมาก เช่น โครงการอาหารปลอดภัย โครงการตลาดน่าซื้อ อ่านฉลากก่อนซื้อ โดยเฉพาะผักและผลไม้จากโครงการหลวงที่เป็นอาหารที่ปลอดภัยทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่มีสารพิษ และได้คุณค่าทางอาหาร
"เราจะรู้อย่างไรว่าอาหารปลอดภัย"
ในบ้านเราเกษตรกรยังผลิตผักและผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างเกินค่า ความปลอดภัย แต่ก็ยังมีเกษตรกรกลุ่มผลิตผักและผลไม้ปลอดภัยสารพิษ และในบางรายได้รับการรับรองแล้วจากกรมวิชาการเกษตรหรือกรมส่งเสริมการเกษตร การที่จะได้ตรารับรองจะต้องผ่านการทดสอบอย่างจริงจังเพื่อความแน่นอนสำหรับเพื่อผู้บริโภค

ตรารับรอง หมายความว่าอะไร
ตัวอย่าง เช่น "ผักและผลไม้อนามัย กรมวิชาการเกษตร" ซึ่งริเริ่มจากกรมวิชาการเกษตรปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 325 ราย ที่ได้รับตรารับรองเจ้าหน้าที่ของโครงการนำร่องการผลิตผักผลไม้สดอนามัย กรมวิชาการเกษตรได้มีการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างเพื่อรับประกันค่อนได้รับตรารับรองทุกปี
การรับรองจากหน่วยงานอื่นๆได้แก่กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิโครงการหลวง ผลผลิตที่ได้รับตรารับรองไม่ได้หมายความว่าไม่มีสารพิษ ตกค้างเลยแต่มีสารพิษตกค้างซึ่งต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่หากต้องการผลผลิตที่ไม่มีสารพิษตกค้างเลยควรหาซื้อจากเกษตรกรที่ผลิตโดยใช้ "เกษตรอินทรีย์"
เมื่อไหร่อาหารทุกอย่างจะปลอดภัย? รัฐบาลพยายามมากวิถีทางเพื่อปรับปรุงอาหารให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ มาตรการที่รับดำเนินการแล้วคือการห้ามนำสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงเข้าประเทศโดยใช้อำนาจของกฎหมายการตรวจจับสารเคมีที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ยังมีสารเคมีต่างๆเหล่านี้เล็ดรอดมาจำหน่ายในท้องตลาดได้บ้าง
เพื่อให้เกษตรกรได้ทราบถึงวิธีการผลิตที่ถูกต้อง ภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ โดยให้เกษตรกรรู้จักวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยวิธีผสมผสาน (IPM) ทำเกษตรที่ดีที่เหมาะสม ทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรยั่งยืนห้องปฏิบัติการตั้งกระจายอยู่ในแหล่งผลิตของเกษตรกรทั่วทุกภาค เพื่อทำการตรวจรับรองสารพิษตกค้างและรับรองสวนเกษตรกรซึ่งมีคุณภาพการผลิตได้มาตรฐานสากล
การทำซึ่งต้องอาศัยศักยภาพที่หลากหลายขององค์กรต่างๆเช่น องค์การพัฒนาเอกชนและธุรกิจเอกชน ก็มีส่วนในการส่งเสริมสินค้าเกษตรกรที่มีคุณภาพ ดังกล่าวนี้ ห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาเก็ตหลายแห่งในปัจจุบันได้จำหน่ายสินค้าปลอดภัยสารพิษที่มีตรารับรองเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภค
ความพยายามเพิ่มสินค้าปลอดภัยสารพิษให้สมบูรณ์ คงไม่สามารถทำสำเร็จภายในเร็ววันเพื่อให้ความสำเร็จตามเป้าหมายรวดเร็วขึ้น ผู้บริโภคต้องมีส่วนร่วมอย่างมากในการช่วยสนับสนุนโดยการเลือกหาสินค้าที่ปลอดภัยสารพิษและมีตรารับรองหรือเลือกซื้อสินค้าที่เกษตรกรปลูกแบบเกษตรอินทรีย์



กินอย่างไร ห่างไกลสารพิษ
สารเร่งเนื้อแดงแหล่งอาหารที่พบ -เนื้อหมู
การสังเกต-เนื้อหมูสีแดงผิดปกติ
อันตราย - หัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะเป็นลม อาจเสียชีวิตได้และมีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งจากสารเคมีที่สะสมในร่างกาย
การเลือก เลือกเนื้อหมูที่มีสีธรรมชาติ ไม่มีสีแดงผิดปกติ เลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรองคุณภาพ
สารฟอกขาวแหล่งอาหารที่พบ ขิงซอย ถั่วงอก น้ำตาลปี๊บ หน่อไม้ ขมิ้นขาว
การสังเกต อาหารที่มีสีซีดขาวผิดปกติ
อันตราย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ความดันต่ำ ไตวาย อาจเสียชีวิตได้
การเลือก เลือกซื้ออาหารที่มีสีธรรมชาติ เลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้รับป้ายรับรองคุณภาพ
สารกันราแหล่งอาหารที่พบ ผักและผลไม้ดอง
การสังเกต ผักดอง ผลไม้ดองน้ำที่ดองดูใสกว่าปกติ
อันตราย ทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นผื่นคัน อาเจียน หูอื้อ
การเลือก เลือกอาหารที่สดใหม่จากแหล่งผลิตที่มีป้ายรับรอง
สีผสมอาหาร
แหล่งอาหารที่พบ ผักดอง แหนม ข้าวเกรียบ ลูกชิ้นไส้กรอก หมูยอ ทอดมัน กุนเชียง ไอศกรีม ขนมหวาน เยลลี่
การสังเกต อาหรที่มีสีผิดปกติจากธรรมชาติ
อันตราย อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเดิน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ตับและไตอักเสบ มะเร็ง จากสารเคมีสะสมในร่างกายและพิษจากโลหะหนัก
การเลือก เลือกซื้ออาหารที่มีสีธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารสีจัด กว่าปกติ
ฟอร์มาลิน
แหล่งอาหารที่พบ ผักสด อาหารทะเล
การสังเกต ผักมีลักษณะแข็งกรอบผิดปกติปลาหรือกุ้งเนื้อแข็งแต่บางส่วนเปื่อยยุ่ย
อันตราย เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และเยื่อบุทางเดินหายใจ คลื่นไส้ อาเจียนปวดท้องอย่างรุนแรง อาจหมดสติได้
การเลือก เลือกผักที่ไม่มีลักษณะแข็งกรอบจนเกินไป เลือกผักที่มีรูพรุน ผักอนามัยหรือ ผักกางมุ้ง เลือกอาหารทะเลสดเนื้อไม่เปื่อยยุ่ง สีไม่ผิดปกติ อาหารทะเลต้องวางจำหน่ายในน้ำแข็งตลอดเวลา ล้างอาหารให้สะอาดาก่อนปรุง
ยาฆ่าแมลง
แหล่งอาหารที่พบ ผักสด ผลไม้ ปลาแก้ง
การสังเกต ผักและผลไม้ดูสมบูรณ์ไม่มีรอยกัดแทะของแมลงปลาแห้งที่ไม่มีแมลงวันตอม
อันตราย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อาจมีพิษาเฉียบพลัน กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก หมดสติ หายใจขัดและอาจหยุดหายใจได้ในระยะยาวอาจสะสมในร่างกายเป็นมะเร็งได้
การเลือกซื้อ เลือกบริโภคผักและผลไม้ตามฤดูกาลหรือผักพื้นบ้านเลือกผักที่มีรูจากการเจาะของแมลงเลือกซื้อจากแหล่งที่ได้ป้ายรับรองแล้ว
บอแรกซ์
แหล่งอาหารที่พบ ผักกาดดอง ลูกชิ้น หมูยอ มะม่วงดอง กล้วยทอด มันทอด ผักสด บางชนิด
การสังเกต อาหารที่มีลักษณะกรุบกรอบผิดปกติอันตราย อาเจียน น้ำหนักลด ผิวหนังมีผื่นคัน อาจอาเจียนเป็นเลือด ปวดท้อง กรวยไตอักเสบ เสียชีวิตได้
การเลือก หลีกเลี่ยงอาหารที่สงสัยว่ามีบอแรกซ์เลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่มีป้ายรับรองคุณภาพ

ป้ายกำกับ:

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สุขภาพดีเป็นไฉน

สุขภาพดี หมายถึง หมายถึงสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินชีวิต การมีสุขภาพและ พลานามัยที่ดี ย่อมส่งผลให้เกิดสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามตามมา ควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1. กินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะกินอย่างไรโดยให้พิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1.1 สภาพของร่างกาย โดยดูจากโครงสร้างของร่างกาย สัดส่วน เพศ และการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น เพศหญิงมีความต้องการสารอาหารมากกว่าผู้ชาย
1.2 อายุ วัยเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตต้องการสารอาหามากกว่าผู้ใหญ่


2. กินอาหารให้ครบ ถูกส่วน และกินอาหารที่มีคุณภาพ อาหารที่เหมาะสมกับกีฬายังคงยึดหลักการเดียวกับคนปกติ โดยกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ แป้ง, เนื้อสัตว์, ไขมัน, วิตามิน, เกลือแร่ และน้ำ
3. กินอาหารให้ครบทุกมื้อ โดยแบ่งเป็น 3 - 4 มื้อต่อวัน ไม่ควรอดเป็นบางมื้อ ช่วงที่อดอาหาร ร่างกายจะใช้สารอาหารในกล้ามเนื้อ ซึ่งถ้าใช้เวลาแข่งขันนาน ๆ จะทำให้สมองสั่งให้ร่างกายพักผ่อนทำให้ความคิดไม่แว่บใส ในแต่ละมื้อควรเฉลี่ยให้กินอาหารครบทุกประเภท โดยจัดเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- นมและผลิตภัณฑ์จากนม 2 มื้อ
- อาหารเนื้อสัตว์ 2 มื้อ
- แป้งหรือข้าว 4 มื้อ
- ผักและผลไม้ 4 มื้อ

4. จัดให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ต้องเป็นอาหารที่นักกีฬากินได้และคุ้นเคย ซึ่งจะทำให้กินได้ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอ



ความสมบูรณ์ทางกายและสมรรถภาพทางกาย

ความสมบูรณ์ทางกาย หมายถึง การมีสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี สุขภาพดีเป็นภาวะที่ ปราศจากโรค สามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้อย่างราบรื่น สุขภาพดีจึงเป็นรากฐานที่ดีของสมรรถภาพ ผู้มีสุขภาพดีจะสามารถฝึกซ้อมกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และร่างกายมีสมรรถภาพดีขึ้นจนถึงจุดสูงสุด ถ้าสุขภาพไม่ดี จะมีผลให้การฝึกซ้อมกีฬา ตลอดจนการทำงานในชีวิตประจำวันขาดประสิทธิภาพ และยังอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยขึ้นได้

สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการควบคุมและสั่งการให้ร่างกายปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับปริมาณงานและเวลา โดยการปฏิบัติภารกิจนั้น ไม่เป็นเหตุให้กิดความทุกข์มานต่อร่างกาย อีกทั้งยังสามารถประกอบกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากภารกิจประจำวันได้อีก ด้วยความกระฉับกระเฉง ปราศจากอาการเมื่อยล้าและอ่อนเพลีย

ป้ายกำกับ:

การดูแลสุขภาพตนเอง

การดูแลสุขภาพตนเอง


โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ในเรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ


การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ
เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่

การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค
การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย
ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม
การที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ที่มาของข้อมูลต่างๆ

ที่มา www.thaigoodview.com
ttp://search.babylon.com/imageres.php
www.oknaka.com

ป้ายกำกับ:

การปฎิบัติตน

การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน


สุขภาพของคนเราจะดีหรือเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์แข็งแรง ของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ตา หู จมูก และฟัน ซึ่งเป็นอวัยวะภายนอกร่างกาย ที่เราควรดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี และแข็งแรง เพราะถ้าเสื่อมโทรม หรือผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ ได้ ดังนั้น เราต้องระวังรักษาส่วนต่างๆ ของร่างกายให้สะอาด ตลอดจนการออกกำลังกาย และการพักผ่อน เพื่อทำให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และมีผลทำให้จิตใจเบิกบาน แจ่มใส สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข

การดูแลสุขภาพตนเอง ให้มีสุขภาพสมบูรณ์ และแข็งแรงอยู่เสมอ จะต้องปฏิบัติกิจกรรม ในด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ในชีวิตประจำวัน โดยยึดหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ และสำรวจสุขภาพตนเอง ดังนี้



1. ดูแลรักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด
อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
การอาบน้ำให้สะอาด จะต้องใช้สบู่ฟอกทุกส่วนของร่างกายให้ทั่ว และมีการขัดถูขี้ไคล บริเวณลำคอ รักแร้ แขนขา ง่ามนิ้วมือ ง่ามนิ้วเท้า ขาหนีบ โดยเฉพาะอวัยวะเพศ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำ และเช็ดตัวให้แห้ง ด้วยผ้าที่สะอาด จะช่วยให้ร่างกายสะอาด และสดชื่น

สระผม อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
การสระผมช่วยให้ผสม และหนังศีรษะสะอาด ไม่สกปรก หรือมีกลิ่นเหม็น โยใช้สบู่ หรือแชมพูสระผมจนสะอาด แล้วเช็ดผมให้แห้ง หร้อมทั้งหวีผมให้เรียบร้อย การหมั่นหวีผม จะช่วยนวดศีรษะให้เลือดมาเลี้ยงศีรษะมากขึ้น และต้องล้างหวี หรือแปรงให้สะอาดเสมอ การไม่สระผม หรือสระผมไม่สะอาด ทำให้เป็นชันนะตุ รังแค และเกิดอาการคัน เกิดโรคผิวหนัง และเชื้อราบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดผมร่วง และเสียบุคลิกภาพ

การรักษาอนามัยของดวงตา
ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญ เราควรหวงแหน และให้ความเอาใจใส่ ควรปฏิบัติดังนี้
- อ่าน หรือเขียนหนังสือในระยะห่างประมาณ 1 ฟุต โดยมีแสงสว่างเพียงพอ แสงเข้าทางด้านซ้าย หรือตรงข้ามกับมือที่ถนัด หากรู้สึกเพลียสายตา ควรพักผ่อนสายตา โดยการหลับตา หรือมองไปไกลๆ ชั่วครู่
- ดูโทรทัศน์ในระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรครึ่ง
- บำรุงสายตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า เช่น มะละกอสุก ฟักทอง และผักบุ้ง เป็นต้น
- ใส่แว่นกันแดด ถ้าจำเป็นต้องมองในที่ๆ มีแสงสว่างมากเกินไป
- ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยแผ่นทดสอบสายตา (E-Chart) ถ้าสายตาผิดปกติ ให้พบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสอบ และประกอบแว่นสายตา

การรักษาอนามัยของหู
หูเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ที่จะต้องเอาใจใส่ดูแลให้ถูกต้อง ดังนี้
- เช็ด บริเวณใบหู และรูหู เท่าที่นิ้วจะเข้าไปได้ ห้ามใช้ของแข็งแคะเขี่ยใบหู รูหู
- คนที่มีประวัติว่า มีการอักเสบของหู ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหูเด็ดขาด
- หากมีน้ำเข้าหู ให้เอียงหูข้างนั้นลง น้ำจะค่อยๆ ไหลออกมาได้เอง หรือใช้ไม้พันสำลีเช็ดบริเวณช่องหูด้านนอก
- ถ้าเป็นหวัด ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เชื้อโรคจากจมูก หรือคอ ถูกดันเข้าไปในหูชั้นกลาง ทำให้เกิดการติดเชื้อ และเกิดเป็นโรคหูน้ำหนวก
- เมื่อมีแมลงเข้าหู อย่าพยายามแคะ ให้ใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันพืช หยอดหูทิ้งไว้ชั่วขณะ แมลงจะเคลื่อนไหวไม่ได้ และตายในที่สุด ควรพบแพทย์เพื่อเอาแมลงออก
- หลีกเลี่ยงจากการถูกกระทบกระแทกหูโดยแรง หรือการตบหู เพราะจะทำให้แก้วหู และกระดูกภายในหูหลุด เกิดการสูญเสียการได้ยินตามมา รวมทั้งการหลีเลี่ยงเสียงอึกทึก และเสียงดังมากๆ อาจทำให้หูพิการได้
- ต้องรู้จักสังเกตอาการผิดปกติของหู และการได้ยินอยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกปวดหู เจ็บหู คันหู หูอื้อ มีน้ำหรือหนองไหลจากหู เวียนศีรษะ มีเสียงดังรบกวนในหู การได้ยินเสียงน้อยลง หรือได้ยินไม่ชัด ต้องรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก ทันที

การรักษาอนามัยของจมูก ข้อควรปฏิบัติดังนี้
- ไม่ถอนขนจมูก เพราะจะทำให้จมูกอักเสบได้
- ถ้าเป็นหวัดเรื้อรัง หรือมีเลือดกำเดาออกบ่อยๆ ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
- ห้ามใส่เมล็ดผลไม้ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นเข้าไปในรูจมูก
- การไอหรือจาม ต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก จมูก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอาการ เป็นผลให้ผู้อื่นติดโรคได้
- ต้องสั่งน้ำมูก ใส่ในผ้า หรือกระดาษเช็ดหน้าที่สะอาด

ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ
มือและเท้าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่สำคัญ ต้องมีการดูแลรักษา ไม่ปล่อยให้เล็บมือเล็บเท้ายาว การปล่อยให้เล็บยาว โดยไม่ดูแลความสะอาด จะทำให้เชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามซอกเล็บ ติดไปกับอาหาร เป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทาปากโดยตรง ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ก่อน และหลังรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าส้วมแล้ว ต้องล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง และต้องสวมรองเท้าเมื่อออกจากบ้าน

ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาทุกวัน
ควรฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน ในตอนเช้า อย่าให้ท้องผูกบ่อยๆ เพราะจะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร และเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้

ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นเพียงพอ
การรักษาความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องนอนเป็นิส่งสำคัญ เสื้อผ้าที่ใช้แล้วทิ้ง ชั้นนอกและชั้นใน ต้องมีการทำความสะอาดด้วยสบู่ หรือผงซักฟอกทุกครั้ง นำไปผึ่งหรือตากแดดให้แห้ง ประการสำคัญ การสวมเสื้อผ้า ต้อใช้ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำๆ หรือซักไม่สะอาด อับชื้น เพราะจะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้



2. รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงขนมหวาน เช่น ลูกอม แปรงฟัน หรือบ้วนปากหลังรับประทานอาหาร ไม่ใช้ฟันขบเคี้ยวของแข็ง




3. ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย
ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังการปรุงอาหาร รวมทั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ และติดเชื้อโรคได้ ควรล้างมือให้ถูกวิธี ดังนี้
- ให้มือเปียกน้ำ ฟอกสบู่ ถูให้ทั่วฝ่ามือ ด้านหน้า และด้านหลังมือ
- ถูตามง่ามนิ้วมือ และซอกเล็บให้ทั่ว เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกไป พร้อมทั้งถูกข้อมือ - ล้างน้ำให้สะอาด แล้วเฃ็ดมือให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาด






4. รับประทานอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด
- เลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ โดยคำนึงถึงหลัก 3 ป. คือ ประโยชน์ ปลอดภัย ประหยัด
- ปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และใช้เครื่องปรุงรสที่ถูกต้อง โดยคำนึงถึงหลัก 3 ส. คือ สงวนคุณค่า สุกเสมอ สะอาดปลอดภัย
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- รับประทานอาหารปรุงสักใหม่ และใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารรสจัด อาหารใส่สีฉูดฉาด
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว



5. งดบุหรี่ สุรา สารเสพย์ติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
- ไม่เสพสารเสพย์ติดทุกชนิด เช่น บุหรี่ สุรา ยาบ้า กัญชา กาว ทินเนอร์
- งดเล่นการพนันทุกชนิด
- ไม่มั่วสุมทางเพศ





6. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
- ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้าน
- มีการปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- การเผื่อแผ่น้ำใจซึ่งกันและกัน
- การทำบุญ และได้ทำกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน




7. ป้องกันอุบัติเหตุด้วยความำม่ประมาท
- ดูแล ตรวจสอบ และระมัดระวังอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ไฟฟ้า เตาแก๊ส ของมีคม ธูปเทียนที่จุดบูชาพระ และไม้ขีดไฟ
- ระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น การใช้ถนน โรงฝึกงาน สถานที่ก่อสร้าง และชุมชนแออัด เป็นต้น




8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี
การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโตสมวัย กระตุ้นให้กระดูกยาวขึ้น และเข็งแรงขึ้น ทำให้สูงสง่า บุคลิกดี และยังช่วยผ่อนคลายความเครียด จากการทำงาน ตลอดจนเพิ่มภูมิต้านทานแก่ร่างกาย โดย
- ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20-30 นาที
- ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และวัย
- ตรวจสอบสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง













9. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
- พักผ่อน และนอนหลับให้เพียงพอ
- จัดสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้าน และนอกบ้านให้น่าอยู่
- มองโลกในแง่ดี ให้อภัย และยอมรับข้อบกพร่องของคนอื่น
- เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ ควรหาทางผ่อนคลาย ในทางที่ถูกต้องเหมาะสม


10. มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม
ใช้ทรัพยากร เช่น น้ำ ไฟ อย่างประหยัด หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถุงพลาสติก โฟม ตลอดจนการร่วมมือกัน รักษาความสะอาด และเป็นระเบียบของสถานที่ทำงาน และที่พัก เป็นต้น

ป้ายกำกับ:

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว

ชื่อ นางสาวพรนิภา นูพลกรัง


รหัสนิสิต 51010511045


สาขา วิทยาศาสตร์ทั่วไป


คณะศึกษาศาสตร์


มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ป้ายกำกับ: