วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์และประเมินผล งานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ

ความเจริญรุดหน้าทุกด้านของมนุษยชาติในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับ
อินเทอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมโลกให้เป็นหนึ่งเดียว และคอมพิวเตอร์ก็ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
ต่อทุกสังคมโลก ซึ่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายทั้งปวงทุกวันนี้สามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิก
เมาส์หรือกดแป้นคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ และการลงทุนด้านธุรกิจ การวิเคราะห์ทางการแพทย์ การวิจัย-
ทางทหาร การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ อีกทั้งงานด้านการเกษตรหรืออุตสาหกรรมล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

ถึงแม้การตอบรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในวงการศึกษาจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า อันเนื่องมาจากความ
หวาดหวั่นว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนครูผู้สอน อย่างไรก็ตาม นักเรียน นักศึกษาทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การทำรายงานหรือการค้นหาข้อมูลในบางครั้งนั้นไม่จำเป็นต้องไปที่
ห้องสมุดหรือเปิดตำราค้นคว้าอีกต่อไป เพราะสารสนเทศและข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้รวบรวมผลงานอัน
หลากหลายของนักวิชาการ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา นักคิด นักเขียน มารวมไว้เพื่อให้ทุกคนสามารถ
แบ่งปันกันใช้ ซึ่งการเข้าถึงข่าวสารเช่นนี้จะเป็นการแพร่กระจายการศึกษาและโอกาสส่วนตัว แม้แต่นักเรียน
ที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนดีๆหรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวก็มีโอกาสที่จะรับรู้ดังเช่นคนอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวจะไม่ทำให้นักเรียนต้องโดดเดี่ยวหรือขาดการสัมพันธ์กับคนอื่นๆ
เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวไว้ว่าประสบการณ์สำคัญที่สุดทางการศึกษาอย่างหนึ่งก็คือการทำงานร่วมมือ
กับผู้อื่นในห้องเรียนแบบสร้างสรรค์ที่สุดของโลกโดยมีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายการสื่อสารเป็นเครื่องมือ
ในการเปลี่ยนแปลงสัมพันธภาพธรรมดาระหว่างกลุ่ม นักเรียน หรือระหว่างนักเรียนกับครู อาจารย์ ด้วยวิธีการ
สร้างสรรค์แบบร่วมมือกัน ทำให้การเรียนรู้มิได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนหรือเพียงแต่อยู่ในความดูแลของ
ครูผู้สอนเท่านั้น และการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อพัฒนาการศึกษาจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
สังคมโดยส่วนรวม

การที่อินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ของโลกที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่อง
เข้าด้วยกัน นับตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กระทั่งกลายเป็น
เครือข่ายข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ ทำให้การติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น ห้องสมุด
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั่วโลก ข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รวมทั้งบทความและเรื่องราวต่างที่น่าสนใจ
ฯลฯ เป็นต้น


โครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ซึ่งพบว่าในแต่ละ
เว็บไซต์นั้นโดยรวมแล้วมีรูปแบบในการนำเสนอที่คล้ายคลึงกัน แต่อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่าง
ออกไปตามแต่วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์นั้นๆ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาโครงสร้างหรือองค์ประกอบของ
เว็บซึ่งประกอบไปด้วย คือ ลักษณะโครงสร้างของเว็บตัวนำทาง การสืบค้นสารสนเทศ การออกแบบเว็บเพจ การวางโครงร่างลักษณะงานกราฟิก และสัญรูป เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบหลักของการนำเสนอผ่านเว็บ
และนอกจากนี้ยังกล่าวว่า เนื้อหาของการนำเสนอบนเว็บนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และผลจากการศึกษา
ที่ต่อเนื่องกันยังพบสิ่งที่สนใจอีก 3 ประการคือ 1) ผู้ที่เข้าไปในเว็บนั้นจะไม่ใช้วิธีการอ่านเนื้อหาหรือ
สารสนเทศที่ปรากฏบนเว็บไซต์แต่จะเป็นการกวาดสายตาเพื่อหาสิ่งที่น่าสนใจ 2) ผู้ที่เข้าไปในเว็บ
ส่วนใหญ่ไม่ชอบที่จะใช้แถบเลื่อนด้านข้าง (scrolling) เพื่อการอ่าน ซึ่งผู้อ่านต้องการข้อความที่กระชับ
และได้ใจความมากกว่า 3) ผู้ที่เข้าไปในเว็บต้องการให้สิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นข้อเท็จจริงมากกว่าอื่นใด

จากผลการศึกษา จะเห็นว่าทั้งการออกแบบและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต
หรือเวิลด์ไวด์เว็บนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้อย่างง่ายๆ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนมากมาย
ที่มา http://www.kradandum.com


การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน

- ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
- การทดสอบสื่อ
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value judgment) เพื่อที่จะรู้ว่า สื่อนั้นทำหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการ หรือไม่ประการใด
การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ

การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
1. ลักษณะสื่อ
1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)
1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)
1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)

ผู้ตรวจสอบลักษณะสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ นักโสตทัศนศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา
2. เนื้อหาสาระ
เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจน

ผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระเฉพาะ และครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คน
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)
เครื่องมือ
ในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมา
มี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบ การพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้
กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ
พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.2 โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยปกติควรจะสร้างข้อสอบสำหรับวัดแต่ละวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อยที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อสอบที่ต้องการเพื่อการคัดเลือกข้อที่เหมาะสมหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบ
พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง
นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่าย
คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ
2. แบบสังเกต สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ
ความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)
การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของ
เสียงดี ฟังง่าย ฯลฯ
การเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticable)
ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม
วิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อน
ผู้เรียนสนใจ และติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอด
ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ผู้เรียน หรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ
http://mediatalkblog.wordpress.com/

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก